กันยายน 09, 2551

MLM ชีวิตออกแบบได้

MLM ชีวิตออกแบบได้
MLM ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
เป้าหมายสูงสุดของปัจเจกบุคคล นั่นคือ อิสรภาพในการดำเนินชีวิตในทุกๆ ด้าน เรามาดูว่า MLM ตอบสนองในด้านใดได้บ้าง
1. อิสรภาพด้านการเงิน
อิสรภาพของคนเราถูกจำกัดด้วย รายได้ที่จำกัด นี่เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่กำลังประสบ การทำงานลักษณะรับจ้างทำงานประจำ มีอัตราผลตอบแทนที่แน่นอน ตายตัว รายได้ที่จำกัด ทำให้เราไม่มีอำนาจในการเลือก ถ้าการมีอิสรภาพ หมายถึง การมีอำนาจในการเลือกสิ่งต่าง ๆ ได้มากกว่า การมีรายได้ที่มากพอ จะทำให้มีอำนาจในการเลือกสรรมากกว่าการมีรายได้ที่จำกัด
2. อิสรภาพด้านเวลา
การทำงานโดยทั่วไป ถูกกำหนดเวลา เข้า – ออก ไว้เป็นที่แน่นอน บางครั้งเราไม่สามารพหยุดทำงานสักหนึ่งสัปดาห์ เพื่อดูแลภรรยาซึ่งนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล เราไม่สามารถหยุดทำงานสัก 1 เดือน เพื่อ
เดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ และบางครั้ง เราไม่สามารถหยุดทำงานได้แต่แต่วันเดียว เพียงเพื่อไปตรวจสุขภาพของตนเอง เพราะนั่น หมายถึง เราต้องสูญเสียรายได้ ที่พอดิบพอดีกับรายจ่าย หรือหากเราลาบ่อยๆ ในงานประจำที่เราทำ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของเราด้วย
แต่หากเราแลกเวลาส่วนหนึ่ง ในระยะ 1 – 2 ขวบปีแรก ในการทำงานสร้างเครือข่ายของตน อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ สิ่งที่
เรา จะได้กลับมาก็คือ เวลาที่มากพอสำหรับกิจกรรมที่เราคิดอยากจะทำ หรือต้องการจะทำ เพราะขณะที่เราหยุดทำงาน องค์กร
เครือข่ายมิได้หยุดไปกับเราด้วย
3 .อิสรภาพในการดำเนินชีวิต
บางครั้งเมื่อคนเราหันกลับมามองตัวเอง ตัวเรามักจะถูกผู้อื่นคอยจัดการ บงการ บังคับการให้เราทำงานในหน้าที่ของเราอยู่เสมอ การดำเนินชีวิตยังขึ้นอยู่กับบุคคลอื่น เป็นผู้กำหนดอยู่ตลอดเวลาไปจนถึงอายุเกษียณการทำงาน นั่นเป็นเพราะความมั่นคงทางด้านรายได้เป็นตัวกำหนดให้เราไม่สามารถกำหนดวิถีชีวิตตัวเราเองได้
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะ
1. เราไม่มีทุน ที่จะประกอบธุรกิจของเราเอง
2. เราไม่มีประสบการณ์
3. เราไม่อาจเสี่ยงกับทุนอันจำกัดของเรา
เรามีเพียงความรู้ ความสามารถ และศักยภาพ และแรงกาย เราขายสิ่งเหล่านี้ให้กับบุคคลอื่นเพื่อแลกกับรายได้กับความมั่นคงของเรา ผู้ที่มีทุน มีประสบการณ์ และกล้าเสี่ยง เป็นผู้ซื้อความรู้ ความสามารถ ศักยภาพและแรงกายของเรา ฉะนั้นเขาก็มีสิทธิ์ที่จะจัดการ บงการ หรือบังคับการเราอย่างใดก็ได้ แต่ถ้าหากเราไม่ต้องขายแรงกาย ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพของเราเองให้กับใคร แต่นำสิ่งเหล่านี้มารับใช้ตนเองเป็นนายตนเอง เราเป็นผู้กำหนดวิถีทางดำเนินชีวิตของเราเอง เราเป็นผู้เลือก มิใช่ผู้ถูกเลือก เราสามารถออกแบบชีวิตของตัวเองได้ ด้วยระบบ MLM
การทำงานในระบบ MLMเราสามารถเลือกได้ว่าจะทำที่ไหน เมื่อไหร่ มากน้อยเพียงใดก็ได้ ระบบ MLM ไม่มีระบบการบังคับบัญฃา ไม่มีหัวหน้า ไม่มีลูกน้อง ไม่มีระบบการให้คุณให้โทษ ท่านไม่จำเป็นต้องปีนไต่ระดับความสำเร็จในหน้าที่อาชีพการงาน ด้วยการขัดแข้งขัดขา เหยียบบ่า เหยียบไหล่ เพื่อนร่วมงาน เราไม่ต้องประจบสอพลอ เอาใจบุคคลอื่น เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดและมั่นคงในอาชีพการงาน ความมั่นคงในชีวิตของเราขึ้นอยู่กับตัวเราเองเท่านั้น สำหรับ MLM ชีวิต สามารถออกแบบได้

สิงหาคม 08, 2551

มาดูเกี่ยวกับกฎหมาย กันสักหน่อย

ธุรกิจ MLM ดำเนินการภายใต้การควบคุมของกฎหมาย โดยมีกฎหมายที่สำคัญที่เราควรทราบคือ
พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับ ควบคุม ดูแล คือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี จะขอยกเฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องโดยตรง และมีความสำคัญที่จำเป็นต้องทราบ ดังนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545”
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ขายตรง” หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้นแต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง
“นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรา ๑๘ ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการและมีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียน การประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ติดตามสอดส่องพฤติกรรมในการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรงหรือในการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง โดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น
การประกอบธุรกิจขายตรง
มาตรา ๒0 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจขายตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๑ ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงต้องดำเนินกิจการให้เป็นไปตามแผนการจ่ายผลตอบแทนของตนที่ได้ยื่นต่อนายทะเบียนตามมาตรา ๓๘

แผนการจ่ายผลตอบแทนต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) ต้องไม่กำหนดให้ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงที่ไม่ใช่ลูกจ้างได้รับผลตอบแทนที่เป็นรายได้หลังจากการรับสมัครบุคคลหรือแนะนำผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงที่ไม่ใช่ลูกจ้างอื่นเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรง
(๒) ผลตอบแทนที่เป็นรายได้หลักของผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงที่ไม่ใช่ลูกจ้างขึ้นอยู่กับการขายสินค้าหรือบริการแก่ผู้บริโภค รวมไปถึงการซื้อเพื่อการใช้หรือบริโภคเอง
(๓) ต้องไม่บังคับให้ผู้จำหน่ายอิสระซื้อสินค้า
(๔) ต้องไม่ชักจูงให้ผู้จำหน่ายอิสระซื้อสินค้าในปริมาณมากเกินไปอย่างไม่สมเหตุผล
(๕) ต้องแสดงวิธีการคิดคำนวณการจ่ายผลตอบแทนที่ตรงต่อความเป็นจริงหรือเป็นไปได้จริงและอย่างเปิดเผยชัดเจน
มาตรา ๒๕ เมื่อผู้จำหน่ายอิสระใช้สิทธิคืนสินค้า วัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการขาย ชุดคู่มือหรืออุปกรณ์ส่งเสริมธุรกิจที่ซื้อไปจากผู้ประกอบธุรกิจ ขายตรง ให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงซื้อคืนตามราคาที่ผู้จำหน่ายอิสระได้จ่าย ภายในระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้จำหน่ายอิสระใช้สิทธิคืน แต่ในการใช้สิทธิคืนกรณีที่สัญญาตามมาตรา 23 สิ้นสุดลง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงมีสิทธิหักค่าดำเนินการได้ไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และมีสิทธิหักกลบลบหนี้ใดๆ อันเกี่ยวกับสัญญาตามมาตรา 23 ที่ผู้จำหน่ายอิสระจะต้องชำระได้
การจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
มาตรา ๓๘ บุคคลใดประสงค์จะประกอบธุรกิจขายตรงหรือประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขายตรง ให้ยื่นแผนการจ่ายผลตอบแทนพร้อมกับคำขอตามวรรคหนึ่งด้วย
ในกรณีจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนการจ่ายผลตอบแทน ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงให้นายทะเบียนทราบก่อนจึงจะนำไปปฏิบัติได้
มาตรา ๔๑ เมื่อได้รับคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง ให้นายทะเบียนพิจารณาและตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑)แผนการจ่ายผลตอบแทนต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(๒)สินค้าหรือบริการมีลักษณะตรงตามที่ได้มีการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขาย
(๓) สัญญามีรายการถูกต้องและครบถ้วนตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่า การยื่นคำขอนั้นถูกต้องตามมาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๙ ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง
มาตรา ๔๒ กรณีปรากฎแก่นายทะเบียนในภายหลังว่าผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายใดประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอน

ส่วนฉบับเต็มไปหาอ่านได้ที่
www.mof.go.th/fincrime2004/images/mlm_act_2534.pdf


ขี้เกียจพิมพ์








กรกฎาคม 20, 2551

รูปแบบการกำหนดเงื่อนไขผลประโยชน์ตอบแทนในระบบ MLM

รูปแบบการกำหนดเงื่อนไขผลประโยชน์ตอบแทนในระบบ MLM

ในระบบ MLM บริษัทผู้ประกอบการจะกำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทน หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า แผนการตลาดไว้เป็นที่ชัดเจน และที่สำคัญต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ควบคุมการกำหนดแผนการตลาดในปัจจุบัน คือพ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545

รูปแบบแผนการตลาด

จะขออธิบายรูปแบบการตลาดแบบหลักๆ 2 รูปแบบ คือ

แผนการตลาดแบบขั้นบันได (Stair Step)

แผนการตลาดแบบจับคู่ (Binary matching)

แผนการตลาดแบบขั้นบันได (Stair Step)

รูปแบบแผนการตลาดแบบขั้นบันได เป็นรูปแบบพื้นฐานที่บริษัทขายตรง MLM นำมาใช้

มากที่สุด เป็นรูปแบบที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าใช้อย่างแท้จริง ผู้ที่ดำเนินธุรกิจ จะต้องมีผล

งานสม่ำเสมอ จึงจะมีรายได้ที่มั่นคง แผนการตลาดยากต่อการนำไปใช้ในการปั่นเงิน

หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า มันนี่เกมส์ (Money games)

ลักษณะสำคัญของแผนขั้นบันได

การซื้อสินค้าซ้ำ (รักษายอด)

การจ่ายผลตอบแทนตามระดับขั้นตำแหน่ง

ไม่จำกัดสายงานการขยายเครือข่าย

การซื้อสินค้าซ้ำ (รักษายอด)

ไม่ว่าในระบบการตลาดแบบใด ผู้ผลิตต้องการให้ผู้บริโภคใช้สินค้าของตนเป็นประจำ เป็นไปใน

ลักษณะภักดีต่อตรา หรือยี่ห้อสินค้า (Brand Loyalty) นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคนๆ หนึ่งใช้สินค้า

เช่น ยาสีฟัน ผกซักฟอก สบู่ หรือครีมล้างหน้า เพียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งไม่เคยเปลี่ยน

ฉะนั้น การให้ความหมายของการรักษายอดในระบบ MLM หมายถึงท่านใช้สินค้าของบริษัท อาจ

เป็นสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ พอใจใน

สินค้านั้นจนซื้อใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ท่านไม่จำเป็นต้องกังวลต่อการรักษายอด ในระบบแผนขั้นบันได

เลย แต่ถ้าหากท่านมิได้ใช้สินค้าอย่างแท้จริง ท่าน

อาจต้องใช้เงินจำนวนหนึ่งเพื่อซื้อสินค้าที่ท่านไม่ได้ใช้ในแต่ละเดือน วิธีที่จะทำให้ได้เงินจำนวน

นั้นกลับมา ก็คือ นำไปขายต่อให้กับบุคคลอื่น ท่านก็จะเป็นนักขายไปในที่สุด

การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามระดับขั้นตำแหน่ง

ผลตอบแทนของสมาชิกในระบบแผนขั้นบันได จะเพิ่มจากน้อยไปหามากตามลำดับขั้นของตำแหน่ง จาก

ตำแหน่งสมาชิกธรรมดา สมาชิกธุรกิจระดับต้น ระดับ

กลางไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงระดับขั้นสูงสุด คล้ายกับการปีนบันได
ไม่จำกัดสายงานการขยายเครือข่าย


แผน Stair step จะเป็นไปในลักษณะการขยายงานทางกว้าง(คือ ไม่จำกัดสมาชิกที่ต่อจากเราโดยตรง จะกี่

ร้อยกี่พันก็ได้) ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจต้องทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร(ประเภทอยู่เฉยๆ

แล้วได้ตังค์หมดสิทธ์) ประมาณ 2-5 ปี แต่จะมีรายได้ที่มั่นคงทีเดียว (เขาเรียกว่า ช้า แต่ ชัวร์)

โดยมากบริษัทที่นำแผนการตลาดแบบขั้นบันไดมาใช้มักจะจำหน่ายสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป มีสินค้า

หลากหลายรายการ ไม่เจาะจงในการทำการตลาดสินค้าเพียงตัวใดตัวหนึ่ง ยกตัวอย่างสินค้าเพื่อ

อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น ผงซักฟอก สบู่ ยาสระผม เครื่องสำอาง เป็นต้น

แผนการตลาดแบบจับคู่ (Binary Matching)

แผนการตลาดแบบจับคู่ ถูกปรับปรุงจากแผนการตลาดรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้เหมาะกับการ

นำไปใช้ทำการตลาดกับสินค้าบางประเภท เช่น สินค้าที่ใช้แล้วไม่หมดไป หรือสินค้าที่ใช้

ระยะเวลานาน จึงจะบริโภคให้หมดไป บริษัทที่นำแผนการตลาดแบบนี้มาใช้มักจะทำการ

ตลาด สินค้าเฉพาะเจาะจงเพียงตัวใดตัวหนึ่ง ที่มีคุณภาพและราคาสูง เช่น ยาบำรุง

อาหารเสริม น้ำมันเครื่องรถยนต์ เป็นต้น

ลักษณะสำคัญของแผน Binary Matching

1. ไม่รักษายอด (ไม่จำเป็นต้องซื้อซ้ำ)

หากองค์กรภายใต้สายงานของตน Active อยู่ตลอดเวลาไม่น้อยกว่าสองสายงาน เราก็อาจมี

รายได้ตลอด ข้อดีข้อนี้มักมีผู้ไปแนะนำธุรกิจแบบผิดๆ ตีความหมายว่าไม่ต้องทำอะไรก็ได้ตังค์..

เฮ้อ?!! ซึ่งจริงๆแล้วองค์กรที่แอคทีฟ ก็เพราะเราแอคทีฟอยู่ หมายถึง เราต้องทำงานอย่างสม่ำ

เสมอเหมือนกัน เมื่อไรที่เราหยุด องค์กรเราก็มักจะหยุดเหมือนกัน(90 เปอร์เซ็นต์)

2. ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นไปในลักษณะจับคู่สมาชิกในสายงาน ไม่น้อยกว่า 2 สายงาน ที่มี คุณสมบัติ

ตามเงื่อนไขข้อกำหนดได้สมบูรณ์ เราจะเห็นว่าสมาชิกที่มีรายได้ไม่จำเป็นต้องมีระดับตำแหน่งเลยก็ได้

3. กำหนดรอบจ่ายคอมมิชชั่น หมายถึงการกำหนดชั้นความลึกของคู่ที่เกิดขึ้นที่บริษัทจะจ่ายให้ เช่น กำหนด

ให้ไม่เกิน 10 ชั้นต่อรอบ(หากไม่กำหนดชั้น บริษัทก็เจ๊งซิครับ)

4.จำกัดการขยายสายงาน ขยายงานทางลึก แนวคิดของข้อนี้เพราะต้องการให้สมาชิกช่วยเหลือกัน

อย่างจริงจัง ทำงานเป็นทีมมากขึ้น เพราะการขยายงานทางกว้าง เราจะได้รับประโยชน์จากสมาชิกที่

อยู่ติดตัวเรามากกว่าสมาชิกที่อยู่ในชั้นลึก เกิดการแย่งสมาชิกกันเองระหว่างลูกทีมกับแม่ทีม(ที่ไม่

ฉลาดเท่าไหร่)

โดยทั่วไป บริษัทมักนำแผนแบบ Stair Step มาใช้ควบคู่ไปกับแผน Binary เพื่อให้

สมาชิกได้มีโอกาสรับผลประโยชน์จากการซื้อสินค้าซ้ำ ฉะนั้นเราจึงเห็นว่า บริษัทที่ใช้

แผน Binary สมาชิกก็มีการทำคุณสมบัติในตำแหน่งต่างๆ ก็เพราะบริษัทนำแผน Stair

Step มาใช้ควบคู่กันไปด้วยนั่นเอง

ข้อเปรียบเทียบระหว่างแผน Stair Step และแผน Binary

Stair Step

Binary

1.รักษายอด

2.ผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับระดับตำแหน่ง


3.มักใช้กับสินค้าประเภท สิ้นเปลือง

4.ตำแหน่งและรายได้สามารถแซงกันได้

5.รายได้เป็นไปในลักษณะมั่นคง(น้อยแต่สม่ำเสมอ)

6.รายได้ที่มั่นคงขึ้นอยู่กับจำนวน

สมาชิกบริโภคในองค์กรเครือข่าย

1.ไม่รักษายอด 2.ผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับความสมดุลย์ระหว่าง สายงาน 3.ใช้กับสินค้าที่ไม่หมดไปหรือใช้ระยะ เวลานาน ในการบริโภค

4.สมาชิกที่มาทีหลัง อาจมีรายได้มากกว่าคน มาก่อน

5.รายได้ลักษณะมั่งคั่ง (มาก แต่ไม่คงที่)

6.รายได้ที่มั่นคงขึ้นอยู่กับจำนวน สมาชิกที่ ทำธุรกิจในสายงาน

กรกฎาคม 15, 2551

การตลาดแบบเครือข่ายหลายชั้น MLM

2.การตลาดขายตรงแบบเครือข่ายหลายชั้น Multi Level Marketing (MLM)

ระบบ MLM ได้ก่อกำเนิดขึ้นไปในประเทศสหรัฐอเมริกาแพร่หลายไปเกือบทุกประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน เป็นการประยุกต์รูปแบบการตลาด เพื่อขจัดข้อด้อยของรูปแบบการตลาดแบบอื่นๆ

เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตลาดเพื่อให้เข้ากับ พฤติกรรมค่านิยมและทัศนคติโดยทั่วไปเกี่ยวกับการซื้อ การขาย ของคน

พฤติกรรมของคนโดยส่วนใหญ่ มักชอบแสดงอำนาจต่อผู้อื่น ดังนั้น ทัศนคติ ค่านิยม ต่อการซื้อ – ขาย เป็นไปในลักษณะ

- การขาย ทำให้คนรู้สึกไม่มีอำนาจ รู้สึกเป็นผู้ถูกเลือก เสียศักดิ์ศรี อำนาจการต่อรองและตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้ซื้อ

- การซื้อ ทำให้คนรู้สึกมีพลัง อำนาจ อำนาจจากการเป็นผู้เลือก การต่อรองและตัดสินใจอยู่ที่ตนเป็นสำคัญ

สรุปก็คือ คนส่วนใหญ่มีทัศนคติ ค่านิยมที่ไม่ดีต่อการขาย นั่นเอง

MLM เป็นระบบการตลาดที่อบสนองต่อพฤติกรรม ทัศคติ ค่านิยมของคนส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นระบบที่ไม่ำเป็นต้องขายสินค้า แต่เป็นการซื้อ หัวใจสำคัญ คือ ซื้อแล้วมีผลประโยชน์ตอบแทนให้กับตนเองด้วย ทุกวันนี้เราซื้อสินค้าเพื่อใช้อุปโภคบริโภคประจำวันอยู่แล้ว แต่การซื้อในวันนี้ของเราจะเปลี่ยนไปจากการได้รับผลตอบแทน เริ่มต้นที่น้อยที่สุดอาจเป็นเพียงหลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นหรืออาจหลักแสนเลยทีเดียว!!!!
อยู่ที่ปัจจุบัน เราพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบ
MLM หรือไม่?

MLM การตลาดที่ไม่ต้องขายสินค้า?

หากมองจากระบบ SLM สมาชิกผู้จำหน่ายอิสระ สร้างยอดการสั่งซื้อสินค้าด้วยตัวเขาเองเพียงคนเดียว ทำให้เกิดกระบวนการขายจากสมาชิกให้กับผู้บริโภคที่ไม่ใช่สมาชิก

ในระบบ MLM สมาชิกสามารถรวมยอดการสั่งซื้อสินค้า จากสมาชิกผู้จำหน่ายอิสระคนอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การแนะนำของตนทุกราย รวมเป็นยอดการสั่งซื้อของตนด้วย ฉนั้น กระบวนการขายเปลี่ยนไปเป็นกระบวนการแนะนำ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ (ตรงนี้เป็นหัวใจหลักของระบบMLMเชียวล่ะ) ถึงผลประโยชน์ตอบแทนจากการซื้อ

ผู้ที่ได้รับการแนะนำ จะสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทโดยตรง มิใช่สั่งซื้อจากผู้แนะนำ

การขายในระบบ MLM

กล่าวได้ว่าสมาชิกในระบบ MLM แทบไม่ต้องขายสินค้าหรือถ้าขายก็เพียงเล็กน้อย เพียงแค่ซื้อบริโภคส่วนตัวก็สามารถรักษาระดับสถานะของตน กระบวนการที่สำคัญที่ทำให้เกิดองค์กรเครือข่ายผู้บริโภคในระบบ MLM คือ กระบวนการถ่ายทอดความรู้ นั่นเอง

การเกิดองค์กรเครือข่ายสมาชิกทุกคนถูกเชื่อมโยงด้วยกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่ง

ไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด กระบวนการถ่ายทอดความรู้เกิดขึ้น เนื่องจากคนในระบบ MLM มีแรงจูงใจ จากผลประโยชน์ ตอบแทนที่เหมาะสม

ระบบ MLM สมาชิกทุกคนเปรียบเสมือนเป็นหุ้นส่วนของบริษัท คล้ายระบบร้านค้าสหกรณ์ ทุกคนซื้อสินค้ากับร้านที่ตนเป็นเจ้าของ และรับปันผลส่วนของผลกำไร แต่ต่างกันที่ MLM สมาชิกสามารถนำยอดการซื้อของสมาชิกอื่นภายใต้องค์กรที่ตนแนะนำ มารวมกับยอดการซื้อของตน เพื่อคำนวณผลกำไรได้ด้วยนั่นเอง

มิถุนายน 12, 2551

ผลประโยชน์

แต่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอิสระไม่ได้ผูกพันธะ สัญญาใดๆกัน ผู้จำหน่ายอิสระจะดำเนินการเมื่อไหร่ ที่ไหน กับใครก็ได้ ผู้ผลิตจะทำหน้าที่ในส่วนของการผลิต,ระบบการขนส่ง,การสต๊อกสินค้า,การส่งเสริมการขาย,การกำหนดราคา,การบริหารจัดการ นั่นหมายถึง ผู้จำหน่ายอิสระไม่มีต้นทุนในการดำเนินการใดๆเลย เพราะสิ่งที่ลงมือกระทำคือ ใช้ดีแล้วบอกต่อ
แต่ทว่า ต้องการให้ผู้บริโภค ลงมือกระทำการ ใช้ดีแล้วบอกต่อ จะต้องมีสิ่งจูงใจหรือแรงจูงใจที่มากพอ แรงจูงใจที่ทำให้คนลงมือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับจากการลงมือกระทำการนั้นๆ ดังนั้นผู้ผลิตในระบบขายตรง จึงกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน ให้กับบุคคลที่ทำได้ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของตน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงมือกระทำในลักษณะ “ใช้ดีแล้วบอกต่อ”
ลักษณะของผลประโยชน์ตอบแทน
โดยทั่วไปบริษัทขายตรง จะกำหนดเงื่อนไขและรูปแบบการจ่ายผลประโยชน์ ตอบแทน ดังนี้
1. ส่วนลด ให้กับผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกเท่านั้น
2. คอมมิชชั่น ให้กับผู้บริโภคที่ดำเนินการในลักษณะ “
ใช้ดีแล้วบอกต่อ
3. ผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น กรมธรรม์ประกันภัย กองทุนซื้อบ้าน กองทุนซื้อรถ กองทุนท่องเที่ยว เป็นต้น

ประเภทของการตลาดขายตรง
ในที่นี้การแบ่งประเภทของการตลาดขายตรง กำหนดด้วยลักษณะการดำเนินการของสมาชิก และการกำหนดเงื่อนไขผลประโยชน์ตอบแทนของบริษัทผู้ประกอบการ
1.การตลาดขายตรงชั้นเดียว Single Level Marketing (SLM)
ในระบบ SLM การดำเนินการในการบอกรับสมาชิก เป็นหน้าที่ของบริษัทผู้ประกอบการ หรือตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท เช่น ผู้จัดการเขต, ผู้จัดการภาค, ซุปเปอร์ไวเซอร์ เป็นต้น
เงื่อนไขการกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน เป็นไปในลักษณะการให้ส่วนลดกับสมาชิก บางบริษัทใหญ่ๆ อาจมีเพิ่มเติมผลประโยชน์รูปแบบอื่นๆ เช่น กรมธรรม์ประกันภัย เป็นต้น การให้ส่วนลด อัตรามากน้อยขึ้นอยู่กับยอดการสั่งซื้อ เช่น สมาชิกสั่งซื้อสินค้าไม่เกิน 1,000 บาท ได้รับส่วนลด 10% สั่งซื้อไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ได้รับส่วนลด 20% หรือสั่งซื้อไม่น้อยกว่า 3,000 บาท ได้รับส่วนลด 30% เป็นต้น
ส่วนผลประโยชน์อื่น เช่น กรมธรรม์ มักจะมอบให้เมื่อสมาชิกมียอดสั่งซื้อสินค้าของบริษัทเป็นประจำ เช่น บริษัทมีเงื่อนไขมอบกรมธรรม์ประกันอุบัติภัยให้กับสมาชิกที่มียอดสั่งซื้อสินค้าไม่น้อยกว่า 300 บาท ต่อเดือน
ลักษณะการดำเนินการของสมาชิกผู้จำหน่ายอิสระ
ในระบบ SLM สมาชิกผู้จำหน่ายอิสระสามารถสร้างรายได้จากการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท เพื่อจำหน่ายต่อให้กับผู้บริโภคที่ไม่ใช่สมาชิกอีกทอด

เมษายน 12, 2551

MLM ระบบการตลาด

ระบบการตลาด
นับจากอดีตถึงปัจจุบัน รูปแบบการตลาดได้ผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พัฒนามาเป็นลำดับ เริ่มต้นแต่ยุคโบราณ การซื้อ-ขาย ระหว่างบุคคลเป็นไปในลักษณะการแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter) ที่มีค่าใกล้เคียงกัน สู่ยุคการใช้สิ่งแทนค่า เช่น เปลือกหอย เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร จากลักษณะการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง สู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ผู้ผลิต ผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก (Mass) ทำให้เกิดการกระจายสินค้าโดยตัวแทนจำหน่าย เกิดระบบการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญและความเชี่ยวชาญ ผู้ผลิตทำหน้าที่ในส่วนของการลงทุน, การจัดหาวัตถุดิบ, การแปรรูป, การคิดค้นและวิจัยผลผลิต, การบริหารจัดการเกี่ยวกับการผลิต ส่วนตัวแทนจำหน่ายทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบการจัดจำหน่าย เช่น ระบบขนส่งในการกระจายสินค้า, การสต๊อกสินค้า, การขาย, การส่งเสริมการขาย, การบริหารจัดการเกี่ยวกับการขาย เป็นต้น
การกระจายสินค้า
หมายถึง การนำสินค้าผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด และครอบคลุมกว้างขวางมากที่สุด การกระจายสินค้าเกี่ยวพันกับการขายในระบบการตลาดอยู่เสมอ วิธีการขายและการกระจายสินค้าทำให้เกิดรูปแบบการตลาด


รูปแบบการตลาด
พิจารณาจากอดีตถึงปัจจุบัน เราจะเห็นรูป แบบการตลาดอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1. ผู้ผลิตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง ผู้ผลิต ผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนน้อย และมีเวลาสำหรับนำไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง เช่น การซื้อขายระหว่าง ผู้ซื้อกับ พ่อค้า แม่ค้าในตลาดนัด โดยการนำสินค้าที่ตนผลิตได้เอง เช่น ผักที่ตนปลูก ปลาที่จับได้ น้ำพริกกระปุก ข้าวแกง เป็นต้น ขายให้กับผู้ซื้อโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เราเรียกรูปแบบการตลาดแบบนี้ว่า “การขายตรง”
2. .ผู้ผลิตว่าจ้างหรือขายให้กับบุคคลอื่น (ตัวแทนจำหน่าย) เพื่อขายสินค้าของตนให้กับผู้บริโภคอีกทอด เมื่อผู้ผลิตผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก หรือไม่มีเวลาในการนำไปขายด้วยตนเอง จึงใช้วิธีว่าจ้างหรือขายให้กับผู้แทนจำหน่ายเพื่อขายต่อให้กับผู้บริโภคอีกทอด เช่น โรงงานผลิตน้ำแข็ง ผลิตได้เป็นจำนวนมาก จึงขายส่งให้ร้านค้าย่อยต่างๆ ในตลาดเพื่อขายให้กับผู้บริโภคอีกทอด เราเรียกรูปแบบการตลาดแบบนี้ว่า “การค้าปลีก”ปัจจุบันระบบค้าปลีก เป็นระบบการตลาดที่ถูกนำมาใช้กันมากที่สุด เนื่องเพราะผู้ผลิตนำเทคโนโลยีเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต จึงผลิตได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องใช้ระบบการขายและกระจายสินค้าโดยตัวแทนจำหน่าย ตัวที่เราจะเห็นบนกล่องผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไป จะระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตและบริษัทผู้แทนจำหน่าย
แต่อย่างไรก็ตามระบบค้าปลีกก่อให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ผลิตกับตัวแทนจำหน่าย เช่น
1. ผู้ผลิตไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าของตัวเอง
2. ปัญหาการสต๊อกสินค้าของผู้แทนจำหน่าย
3. สินค้าของผู้ผลิตไม่ได้คุณภาพ
4. ผู้แทนจำหน่ายไม่ส่งเสริมการขายสินค้าของผู้ผลิต เนื่องจากจัด จำหน่ายให้กับผู้ผลิตหลายราย
5. ผู้แทนจำหน่ายโฆษณาสินค้าเกินจริง
จากปัญหาดังกล่าว ผู้ผลิตบางรายต้องการจำหน่ายสินค้าของตนให้กับผู้บริโภคโดยตรง แล้วให้ผู้บริโภคสินค้าของตนเป็นผู้กระจายสินค้าในลักษณะ “ปากต่อปาก” , “ใช้ดีแล้วบอกต่อ” ซึ่งเป็นลักษณะของระบบขายตรง โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตที่ใช้ระบบการตลาดขายตรง จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าปกติ หากนำสินค้าด้อยคุณภาพมาใช้วิธี “ใช้ดีแล้วบอกต่อ” มักจะไม่ได้ผล
แนวคิดการตลาดขายตรง
จากปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้แทนจำหน่าย ทำให้นักการตลาดต้องหันกลับไปมองวิธีการตลาดแบบดั้งเดิม นั่นคือ การตลาดแบบขายตรง แต่ข้อด้อยของระบบขายตรง คือ การกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคเป็นไปอย่างจำกัด นักการตลาดจึงขจัดข้อด้อยนี้ด้วยการพัฒนาผู้บริโภคสินค้าของตน ให้ก้าวขึ้นไปสู่การเป็นผู้จำหน่ายอิสระ
ผู้จำหน่ายอิสระ จะดำเนินการกระจายสินค้าด้วยวิธี ใช้ดีแล้วบอกต่อ,ปากต่อปาก จำนวนผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเป็นอัตราทวีคูณตามระยะเวลาที่ดำเนินการ

มีนาคม 22, 2551

multi level marketing

<span>สวัสดีครับ..ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม สำหรับเว็บไซต์นี้ ผม..นายพันดาว ขอนำความรู้และประสบการณ์จากการทำการตลาดระบบ MLM มาพูดคุยบอกเล่าให้กับทุกท่านที่ต้องการทำความเข้าใจกับ MLM นะครับ ผมรักและเป็นแฟนกับ MLM มานานก็เลยอยากให้ใคร ๆ ได้เข้าใจ MLM ด้วย ข้อดีข้อด้อยของมันก็มีเป็นธรรมดาครับ ..... เพียงแต่เราไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เราก็จะคบกับ MLM ได้นาน และมันก็จะทำรายได้ให้กับเราพอสมควรเลยทีเดียว !! (บทความนี้ไม่เกี่ยวกับประเภทสมัครปุ๊บ แล้วรวยปั๊บนะครับ)

MLM เธอมาจากไหน?

ระบบการตลาด MLM หรือที่ใคร ๆ หลายคนเรียกมันว่าการตลาด แบบเครือข่าย, การตลาดแบบลูกโซ่, จริง ๆ แล้ว ภาษาทางการเค้าเรียกว่า การตลาดขายตรงหลายชั้น มันเริ่มจากฝั่งอเมริกาโน่นแหละครับ ย้อนไปร้อยกว่าปีก่อน กลุ่มอาจารย์มหาลัย เขาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เอาพวกหนังสือ สารานุกรม ที่เขียนกันขึ้นมาไปแนะนำให้กับพวกลูกศิษย์ ทีนี้พอขายดิบขายดี มันก็เลยมีคนนำไปใช้กับสินค้าตัวอื่น ๆ เช่นพวกเครื่องครัว เครื่องสำอาง เค้าก็เริ่มเรียกการขายอย่างนี้ว่า ขายตรง (direct sale)

สำหรับในประเทศไทย สินค้าตัวแรก ๆ ที่เราพอจะมองเห็นว่าทำการตลาดแบบขายตรงก็เป็นพวกประกันชีวิต ทั้งหลาย หลังจากนั้นก็เป็นพวกเครื่องครัว เครื่องสำอาง พวกเครื่องประดับ ฯลฯ ส่วน MLM จริงๆ น่าจะเริ่มต้นประมาณปี 30 โดยยักษ์ใหญ่ Amway จากอเมริกานั่นเอง


รู้จักกับระบบการตลาด

ทีนี้เราก็ต้องมาดูว่าระบบการตลาดที่เราเกี่ยวข้องด้วยน่ะ มันมีกี่ระบบ


1. ระบบค้าปลีก อันนี้เป็นระบบหลัก ระบบที่ใหญ่มาก ผู้คนจะเกี่ยวข้องกับการตลาดระบบค้าปลีกกันมากที่สุด ผมว่าสัก 90% ในปัจจุบัน สินค้าโดยส่วนใหญ่ซื้อขายกันโดยผ่านระบบค้าปลีก ระบบนี้เค้าขายกันโดยมีตัวแทนจำหน่าย, พ่อค้าคนกลาง, ผู้ผลิตกับผู้ขายอาจไม่ใช่คนคนเดียวกัน


2. ระบบขายตรง ระบบนี้คือระบบการตัดพ่อค้าคนกลางออกไป ผู้ผลิตบางรายนำสินค้ามาจำหน่ายโดยช่องทางขายตรง และให้ผู้ซื้ออย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี่แหละครับเป็นตัวแทนจำหน่ายซะเลย คือหมายถึง เราเป็นได้ทั้งผู้ซื้อสินค้าและผู้ใช้สินค้าด้วย

เอาล่ะ ทีนี้เราก็มาว่ากันถึงระบบขายตรงกันนะครับ เพราะการตลาดแบบ MLM มันพัฒนารูปแบบมาจากการขายตรง หากเราไม่ได้ทราบต้นตอที่มา ความเข้าใจของเราที่มีต่อ MLM ก็จะขาดความสมบูรณ์ ขายตรงเขาแบ่งกันออกไปอีกนะครับ เป็น


1. ขายตรงชั้นเดียว SLM (Single Levle Marketing) ระบบนี้ยกตัวอย่างให้เห็นก็คือ เค้าจะให้เราสมัครสมาชิก เป็นผู้ซื้อ หลังจากนั้นเค้าก็จะส่งแคตตาล็อกมาให้เราเลือกสินค้า เราชอบพอใจสินค้าตัวไหน ก็ระบุเป็นรหัสไป หลังจากนั้นอีกประมาณสัก1 สัปดาห์ เราก็จะได้รับสินค้าที่สั่งซื้อไป แบบนี้เราสมัครเพื่อซื้อใช่ไหมครับ ..ทีนี้ถ้าเราจะขาย เราก็เอาแคตตาล็อกนี่แหละครับไปเสนอขายกับคนอื่น เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เสร็จแล้วเราก็รวบรวมรายการส่งไปยังบริษัท บริษัทก็จะขายให้กับเราในราคาสมาชิก เช่น ลดให้ 20% เราก็จะได้กำไรจากส่วนต่างตรงนี้แหละครับ


2. การขายตรงหลายชั้น MLM (Multi Level Marketing) หัวข้อนี้ผมจะเอาไปอธิบายกันแบบยาว ๆ เนื้อๆ อีกครั้งนะครับ เพียงแต่ว่าตรงนี้เราให้เห็นกันก่อนว่าขายตรงนั้น แบ่งได้เป็นแบบชั้นเดียว (Single) และหลายชั้น (Multi)ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าถ้าใครเข้าใจ MLM อย่างถูกต้อง อาจจะทำให้เขาหลงรัก MLM อย่างหัวปักหัวปำก็ได้ (ไม่ได้โม้ คุ..คุ..)


Note: ผู้ที่มีรายได้เยอะๆ ในSLM เขาจะต้องขายสินค้ากันเก่งๆ